[:en]kitchen_build in[:]

[:en]ทำความรู้จักระบบต่างๆ สำหรับการ Built in ในห้องครัว[:]

[:en]

[vc_row][vc_column][vc_column_text text_larger=”no”]

เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดแนวทางการวางระบบต่างๆภายในห้องครัวกันนะคะ เรียนรู้ไว้ตรวจสอบเวลาจ้างช่างวางระบบภายในครัว หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที ระบบต่างๆภายในห้องครัวมีดังนี้

1.ระบบสุขาภิบาลหรือระบบน้ำดีและน้ำทิ้ง
2.ระบบไฟฟ้า
3.ระบบระบายอากาศ
4.ระบบเติมอากาศ
5.ระบบปรับอากาศ
6.ระบบแก็สหุงต้ม
7.ระบบดับเพลิงในห้องครัว[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”17536″ img_size=”900×350″ parallax_scroll=”no”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text text_larger=”no”]

1.ระบบสุขาภิบาลน้ำ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท

1.1 ระบบน้ำดีหรือระบบน้ำประปา คือ ระบบท่อที่ใช้สำหรับการลำเลียงน้ำสะอาดเพื่อนำไปใช้ในส่วนต่างๆ
1.2 ระบบระบายน้ำโสโครก คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียจากโถส้วม หรือ โถปัสสาวะออกจากพื้นที่และนำน้ำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะระบายออกไปสู่ภายนอกอาคาร
1.3 ระบบระบายน้ำทิ้ง ระบบท่อลำเลียงนำเพื่อไปบำบัดก่อนระบายออกนอกอาคาร
1.4 ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบนี้ทำงานโดยดูว่าค่าดัชนีวัดค่าคุณสมบัติต่างๆของน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตามที่กฏหมายกำหนด ก่อนระบายน้ำเหล่านี้ออกสู่ภายนอกอาคาร
1.5 ระบบท่อระบายอากาศหรือท่ออากาศ ระบบนี้จะถูกติดตั้งเข้ากับระบบท่อน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาสูญญากาศในเส้นท่อระบายน้ำ มีผลทำให้ระบบระบายน้ำในเส้นท่อสามารถระบายน้ำได้สะดวก
1.6 ระบบท่อระบายน้ำฝน ระบบท่อที่รองรับน้ำฝน ระบายน้ำฝน
1.7 ระบบระบายน้ำภายนอกอาคาร ระบบท่อระบายน้ำบริเวรโดยรอบของอาคาร ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำออกจากบริเวรอาคารเข้าสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ

2.ระบบกำลังไฟฟ้า

สำหรับห้องครัวนั้นควรติดตั้งตู้เมน (Distribution Board) ต่างหากจากพิ้นที่อื่นๆ ควรแยกวงจรไฟฟ้าให้ชัดเจนเพื่อรองรับการซ่อมบำรุงต่อไปในอนาคต สำหรับการเลือกใช้เมนเบรกเกอร์ (MCB)ควรใช้แบบที่ได้มาตรฐานและที่ขาดไม่ได้เลยคืออุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วเนื่องจากการใช้งานของชุดครัวนั้น เสี่ยงต่อการสัมผัสน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ

3.ระบบไฟฟ้าสื่อสาร

ปัจจุบันการรับออเดอร์นั้นบางธุรกิจบางแห่งได้ทำการติดต่อสื่อสารผ่าน Applicationซึ่งยังเกี่ยวข้องกับระบบ Internet Billing ปัจจุบันภายในห้องครัวจึงต้องมีระบบนี้เสริมขึ้นมา

4.ระบบระบายอากาศและเติมอากาศ

ในห้องครัวนั้นกิจกรรมกลักคือการทำอาหารเพราะฉะนั้นแล้ว มักจะเกิดเป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นจากการทำอาหารเนื้อสัตว ยิ่งควันอีก เหล่านีทำให้มาตฐานในการทำอาหารของภัตตาคารลดลงอย่างไม่น่าสงสัย ฉะนั้นแล้วก็ไม่ต้องสงสัยทุกที่ต้องมีระบบระบายอากาศและเติมอากาศที่ดีและถูกต้องตามหลักเพื่อให้ครัวนั้นเป็นไปตามมาตฐาน โดยอัตรการระบายอากาศทั่วไปของห้องครัว จะต้องมีอัตราไม่น้อยกว่าที่กระทรวงกำหนดเอาไว้ ตามที่ได้รับการยอมรับได้ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยค่าอัตราต้องได้ตามมาตรฐาน การรายอาอาศภายในครัวเป็นระบบแรงดันลบ หรือ Negative System/Room ซึ่งมีการถ่ายเทอากาศร้อนหรืออากาศเสียภายในออกสู่ภายนอก เพื่อให้ด้านในมีอากาศที่บริสุทธิ์ หมุนเวียนเข้าไปเเทนที่ โดยการระบายอากาศสู่ภายนอกจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hood และท่อลม เพิ่อเติมอากาศทดแทนจะต้องเพียงพอ ป้องกันไม่ให้แรงดันอากาศในครัวต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบเกิน 5 ปาสคาล หรือกรณีที่ใช้ครอบดูดลมที่มีช่องสำหรับเติมอากาศ สามารถเติมอากาศได้ต่ำสุด 80 เปอร์เซ็รชนต์ของปริมาณลมระบายทิ้ง ทั้งนี้ระบบระบายอากาศ ประกอบไปด้วย Hood หรือบางครั้งเรียกตู้ดูดอากาศเสีย Hood เป็นตัวอุปกรณ์ที่ทำการเก็บอากาศเสีย หรือ กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ โดยอาศัย หลักการณ์ Capture Velocity การใช้ความเร็วของอากาศตรงปล่อง Hood เพื่อนำพาอากาศอันไม่พึงประสงค์ส่งออกไปยังภายนอก โดยปกติแล้วนักออกแบบจะใช้ Hood ที่มีปากปล่องขนาดเล็กเท่าที่จะเป็นไปได้เนื่องจากความเร็วในการพาอากาศนั้นใช้พลังงานเยอะ แต่หากพื้นที่นั้น มีอากาศอันไม่พึงประสงค์จำนวนมากก็จำเป็นต้องติดตั้ง Hood ขนาดใหญ่ขึ้นในส่วนของท่อที่ใช้ส่งอากาศเสีย โดยปกติแล้วจะใช้พัดลมตัวเดียวและท่อดูดอากาศจากหลายๆ จุดมารวมกันออกทางปล่องระบายรวมเพียงอันเดียว ท่อลมนั้นจะต้อง
มีแรงต้านทานกานไหลของอากาศได้น้อยที่สุดและมีความเร็วของอากาศในท่อที่เหมาะสม สำหรับตัวพัดลมที่ไว้สร้าง “ความดันอากาศ” ที่แตกต่างกันจนเพียงพอที่ทำให้สามารถดึงอากาศเสียหรือมลพิษถูกดึงเข้ามาในระบบเพื่อปล่อยออกด้านนอก ตัวพัดลมที่ช่างใช้จะมีอยู่ 2 ชนิด พัดลมแบบ Axial ใช้มากในการดึงอากาศบริสุทธิ์เข้ามาเจือจางโดยติดไว้ที่กำแพงหรือหลังคาสามารถดึงอากาศได้เป็นจำนวนมากหากไม่มีแรงต้าน พัดลมแบบ Centrifugal พัดลมตัวนี้จะทนต่อแรงต้านสูงๆ สามารถดึงอากาศได้ดีกว่า ส่วนของปล่องอากาศ ตำแหน่งในการวางจะถูกดึงเข้าไปในอาคารอย่างน้อย 16-20 เมตร และอยู่บนหลังคาต้องสูงจากหลังคาอย่างน้อย 3-4 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศระบายออก ม้วนกลับลงทางชายคาอาคาร ไม่ควรมีหมวก หรือ สิ่งกีดขวาง ตรงปลายปล่อง เพราะจะไปปิดกั้นการพุ่งออกของอากาศเสีย

5.ระบบปรับอากาศ

อย่างระบบห้องเย็นที่ใช้ในการเก็บวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร ห้องเก็บวัตถุดิบ อุณหภูมิมักจะอยู่ที่ -3 ถึง 7 องศาเซลเซียสโดยส่วนใหญ่สิ่งสำคัญที่ใช้สำหรับออกแบบห้องเย็นนั้นคือ ผนังห้อง คุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน รักษาอุณหภูมิควบคุมความชื้น ป้องกันเเบคทีเรียและทำความสะอาดง่ายความหนาของผนังมีขนาดตั้งแต่ 50, 75, 100, 125, 150, mm. ขึ้นอยู่กับการใช้งานของห้องเย็นนั้นๆ

6.การออกแบบระบบแก็สหุงต้ม

จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยกำหนด สถานที่ในการเก็บแก๊สหุงต้ม ควรตั้งที่ระดับพื้นดินของอาคารบนพื้นเรียบป้องกันการลิมถไลและสำคัญมากพื้นที่ตั้งจะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างจากเปลวไฟ ประกายไฟ หรือพื้นที่ความร้อนสูง และจะต้องมีอากาศไหลเวียนถ่ายเทอยู่ตลอดเวลาแก๊สหุงต้มที่ทำการกักเก็บรวมกันต้องไม่เกิน 2,000 ลิตร และห้ามวางถังแก๊สแบบซ้อนกัน สำหรับท่อของแก๊สต้องเลือกให้เหมาะสมโดยหากเป็นการติดตั้งภายนอกอาคารท่อที่ใช้ต้องเป็นแบบไม่มีตะเข็บแต่หากเป็นการติดตั้งภายในตัวอาคารสามารถเลือกใช้ท่อที่มีตะเข็บได้ และใช้ท่ออ่อนในตำแหน่งที่มีการขยับได้ ที่ขาดไม่ได้เลยต้องมีการออกแบบลิ้นควบคุมการไหลของแก๊สระหว่างถังเก็บกับท่อส่ง จะต้องเป็นตำแหน่งที่การเข้าถึงได้ง่าย

7.ระบบดับเพลิงในห้องครัว

มักนิยมใช้ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีเปียก ออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วหากเกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้น สารดับเพลิงใช้สารประกอบโพเทสเซียมและน้ำเป็นสารหลักในการดับเพลิง เรียกว่าสารเคมีเปียก ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”17540″ img_size=”900×350″ parallax_scroll=”no”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”17449″ img_size=”full” parallax_scroll=”no”][/vc_column][/vc_row]

[:]