[:en]วิธีการกินอาหารช่วงโควิด[:]

[:en]โควิด-19 เราต้องรอด !! ดูแลเรื่องอาหารการกินให้ถูกวิธี[:]

[:en]

[vc_row][vc_column][vc_column_text text_larger=”no”]การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นเกิดขึ้นมาระยะเวลานานแล้ว ผู้คนหันมาใส่หน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือเพื่อป้องกันการเเพร่กระจายของเชื้อโรคและป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อดังกล่าวเมื่อกล่าวถึงโรคระบาดนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกของเราเกิดโรคระบาดขึ้นอย่างกระทันหัน ทุกครั้งมีคนเสียชีวิตมากมายและก็มีคนที่เหลือรอดจากโรคระบาดนั้น ก้าวผ่านช่วงเวลาอันปวดร้าว ด้วยสติ และปัญญากล่าวคือ เราทุกคนต้องตั้งสติ เพื่อดูแล สุขภาพร่างกายของเราให้ถูกวิธีเพื่ออย่างน้อยแล้วร่างกายจะได้มีการป้องกันพื้นฐานเกิดขึ้น ยิ่งตอนนี้การผลิตยาและวัคซีนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้การได้รับการรักษาและการป้องกันนั้นเกิดการล้าช้า ในประวัติศาตร์โรคระบาดอย่าง อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้หวัดใหญ่ หรือเอชไอวี เคยสังหารชีวิตของมนุษยชาติไปแล้วมากมาย โรคภัยไข้เจ็บมักมาจากการขาดการปฏิบัติตามสุขอนามัยฉะนั้นทางที่ดีที่สุดแล้วสำหรับตอนนี้เราทุกคนต้องดูแลตัวเองปฏิบัติตามวิธีทางสุขอนามัยเพื่อการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้ปราศจากโรคและลดการแพร่กระจายโรคไปสู่คนอื่น ในที่นี้จึงรวบรวมวิธีการดูแลตนเองในเรื่องของการรับประทานอาหารให้ถูกวิธี เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเองในระดับพื้นฐาน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงนี้ เนื่องจากอาหารบางประเภทมีความเสี่ยงที่คนขายใช้มือในการสัมผัสอาหารและไม่ได้ผ่านความร้อนก่อนบรรจุสู่บรรจุภัณฑ์เพื่อนำส่งลูกค้า อันนี้เราต้องระวังหากไม่สามารถนำอาหารเหล่านี้มาอุ่นด้วยตนเองก่อนรับประทานได้แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงไปก่อนดีกว่า ตามข้อมูลอาหารเหล่านั้นได้แก่
1.ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู อาหารเหล่านี้ถูกทำให้สุกด้วยความร้อนและนำมาพักไว้สำหรับเตรียมจัดใส่จานหรือกล่องในภายหลังซึ่งในขั้นตอนการจัดใส่กล่องหรือจานนั้น อาจเกิดการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการสัมผัสด้วยมือ หรือแม้แต่ถุงมือ เมื่อผู้ประกอบอาหารไปหยิบจับ สัมผัสสิ่งต่างๆรอบตัว นอกจากนี้ บนเขียง หรือตัวมีด ก็มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนของเชื้อโรคเช่นกัน
2.เมนูอาหารจำพวกยำ น้ำตก ลาบ หรือส้มตำ อันนี้ทางโรงพยาบาลแนะนำว่าควรงดไปก่อนเลยเพราะอย่างส้มตำไม่ได้ผ่านความร้อนเลย อีกทั้งในการผสมส่วนของอาหารผู้ประกอบอาหารยังใช้มือในการหยิบจับเพื่อทำการปรุงอาหารส่วนนั้นเป็นความเสี่ยงที่ทำให้อาหารของเราสัมผัสเชื้อโรคได้ และภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร อย่างครก ซึ่งใช้ซ้ำในการทำอาหารหลายๆจานแน่นอนว่าแม้มีกาารสัมผัสเชื้อโรคเพียงครั้งเดียว เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะติดไปยังอาหารจานอื่นๆด้วย
3.ก๋วยเตี๋ยวหลอด ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ปอเปี๊ยะสด ส่วนประกอบอาหารบางส่วนถูกทำให้สุก บางส่วนเป็นของสดไม่ได้ผ่านความร้อน แน่นอนว่าควรหลีกเลี่ยง และในส่วนของขั้นตอนการห่อเป็นไส้ ส่วนนั้นใช้มือในการหยิบจับตรงจุดนั้นทำให้เกิดการปนเปื้อนได้
4.สลัดผัก เป็นอาหารที่ไม่ได้ขั้นตอนของความร้อนเลย มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนของเชื้อโรคมากที่สุด
5.ชาบู หม้อไฟ ปิ้งย่าง เมนูนี้ผ่านความร้อนก่อนนำเข้ารับประทานเลย แต่ทางโรงพยาบาลไม่แนะนำให้ล้อมวงกินด้วยกัน

นอกจากนี้เรามาทวนย้ำอีกทีเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวทั่วๆไปในการรับประทานอาหาร เป็นที่ทราบกันว่าการติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นติดต่อระหว่างคนสู่คน ผ่านทางน้ำมูกและน้ำลาย ผ่านเข้ามาทางปาก จมูก และเยื่อบุตา มีหลักการณ์ในการดูแลตัวเองสำหรับการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเชื้อโรคสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
กินร้อน
1.รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
2.ปรุงอาหารด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส ในเวลาที่ต้องมากกว่า 2 นาที เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค
3.อาหารที่เก็บไว้นานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นให้ร้อนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อโรคโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายก่อนรับประทาน
การล้างมือ
1.ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ และทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังจากเข้าห้องน้ำ ไอ จาม และสั่งน้ำมูก
2.หลังจากการสัมผัสสัตว์ทุกชนิด หลังการสัมผัสจุดสาธารณะที่ผู้คนใช้สิ่งของร่วมกัน อาทิเช่น ราวบันได ปุ่มลิฟต์ ราวจับในรถสาธารณะ หลังจากการสัมผัสทุกครั้งต้องล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ

ที่นี่เรามาทราบแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเราเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสที่ยังมีโอกาสหลุดรอดเข้ามาสู่ร่างกายของเรา
1.ลดความเครียด แม้สถานการณ์อาจตึงเครียดแต่เราต้องเข้าใจว่าไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยตนเอง ให้เราปฏิบัติตามแนวทางมาตรการของรัฐอย่างเคร่งครัดและปฏิบัติตนตามวิธีทางสาธารณสุขให้ดีที่สุด เมื่อทำทุกอย่างดีที่สุดแล้วก็อย่าไปวิตกกังวลกับสถาการณ์มากนักเพราะยิ่งกังวลสุขภาพก็จะยิ่งแย่ ภูมิคุ้มกันจะถดถอยกันไปใหญ่
2.นอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับทำให้ร่างกายสร้างสารที่ชื่อว่า ไซโตไคน์ ช่วยรักษาการอักเสบ การติดเชื้อ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
3.ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด ทำให้เซลล์ในร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้นและเป็นการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวขึ้นอีกด้วย ในส่วนของสมองสร้างโกรทฮอร์โมนซึ่งเป็นตัวส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดขาวบางชนิดที่ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัสและสิ่งแปลกปลอมได้
4. ทานอาหารให้สมดุล และเพิ่มอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนี้
– พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
-เลือกกินอาหารที่ปล่อยพลังงานช้าและมีเส้นใยเพื่อปรับสมดุลการขับถ่าย เช่น ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช ผลไม้อย่างฝรัง แอปเปิ้ล ในบางมื้อเพื่อไม่ให้หิวง่ายและเพื่อระบบขับถ่ายเป็นปกติ
-ทานผักผลไม้หลากสี คละกันไปเพราะแต่ละชนิดมีสารอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน
-หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก แหนม และอาหรปิ้งย่างที่มีเขม่าดำ
-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม
-หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
5.รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน
-วิตามินซี ขนาด 500-2000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากวิตามินซี ช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยกระบวนการทำลายเชื้อโรค การรับประทานวิตามินซีเสริม ควรได้รับการปรึกษาเเพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เนื่องจากขนาดของวิตามินซีที่ควรได้รับต่อวันในของคนสุขภาพดีนั้นแตกต่างกันออกไป ในเด็กอายุ 1-8 ปี ควรได้รับ 25-40 มิลลิกรัมต่อวัน ในเด็กและวัยรุ่นในช่วงอายุ 9-18 ปี ควรได้รับ 60-100 มิลลิกรัมต่อวัน และในวัยผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 85-100 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสามารถได้จากอาหารและผลไม้ทั่วไป เช่นฝรั่ง ส้ม เชอร์รี่ เบอร์รี่ต่างๆ กีวี มะขามป้อม พริกหวาน บรอกโคลี่ ผัก คะน้า ผักปวยเล้ง เป็นต้น
-วิตามินดี ไม่เพียงแค่ช่วยในการดูดซึมเเคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังเป็นวิตามินที่มีบทบาทกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดขาวโมโนไซต์และมาโครฟาจซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือด ขาวที่สำคัญที่ช่วยลดอาการอักเสบ ต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่ปกติเราสามารถรับวิตามินดีได้จากปลาต่างๆ นม ไข่แดง ชีส ตับ ปลา ตับสัตว์ เห็ด แน่นอนว่าการรับวิตามินดีเป็นอาหารเสริมควรปรึกษาเเพทย์หรือเภสัชกรเช่นกัน
-สังกะสี นอกจากช่วยดูแลในเรื่องของผิวพรรณ ผม ขน เล็บ และระบบสืบพันธุ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดลือดขาวหลายชนิด ปกติแล้วในอาหารที่อุดมณ์ด้วยสังกะสี เช่น หอยนางรม เนื้อสัตว์และเครื่องใน สัตว์ปีก ปลา นม ไข่ เมล็ดฟักทอง ธัญพืชต่างๆ การรับประทานเสริมในผู้สุขภาพดี เเนะนำ 15-45 มิลลิกรัมต่อวัน หากต้องการบริโภคสูงกว่านี้ควรปรึกษาเเพทย์และเภสัชกร
-กรดไขมันโอเมก้า 3 ปกติแล้วจะเสริมสร้างเซลล์ประสาทในสมอง จอประสาทตา เสริมสร้างการทำงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ลดการอักเสบซ่อนเร้นจากความเครียด ยังมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือด ขาว ซึ่งปกติเราสามารถได้รับจากแหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาและอาหารทะเล น้ำมันปลา ถั่วต่างๆ น้ำมันพืช เป็นต้น ส่วนในอาหารเสริมสำหรับผู้ทีมีสุขภาพดีแนะนให้รับประทาน 500-1500 มอลลิกรัมต่อวัน
6.การใช้อาหารเสริมแบบเฉพาะบุคคล ทางที่ดีสำหรับการทานอาหารเสริมควรตรวจสุขภาพร่างกาย เพื่อค้นหาว่าวิตามินหรือแร่ธาตุตัวใดที่เรากำลังขาด จะได้เสริมวิตามินได้ถูกจุด
7.การให้วิตามินบำบัดทางหลอดเลือด วิธีการนี้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที และช่วยป้องกันการติดเชื้อพร้อมเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังช่วยผ่อนคลายความเครียดและฟื้นฟูร่างกายและผิวพรรณให้สดชื่นซึ่งใช้เวลาประมาณ 30-40 นาทีต่อครั้ง[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_single_image image=”18147″ img_size=”full” parallax_scroll=”no”][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text] 

ที่มา : ข้อมูลจาก โรงพยาบาลบางกรวย/องกรณ์อนามัยโลก WHO/โรงพยาบาลสมิตเวช[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

[:]