[:en]การเลือกซื้ออาหาร[:]

[:en]เลือกอาหารอย่างไร ให้ห่างไกลสารพิษตกค้าง[:]

[:en][vc_row][vc_column][vc_column_text text_larger=”no”]สารพิษปนเปื้อนในอาหารมักพบบ่อยที่ควรรู้จัก

1.สารเร่งเนื้อแดงที่มักใช้กับเนื้อหมู สารเคมีชนิดนี้เป็นสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ โดยปกติแล้วสารเคมีชนิดนี้มีไว้สำหรับเป็นยารักษาโรคหอบหืดในคนและสัตว์เท่านั้น แต่กลับพบว่ามีคนลักลอบนำมาใช้ผสมอาหารสำหรับเลี้ยงหมู เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อแดงในตัวหมูและลดจำนวนไขมันเพื่อให้สามารถทำราคาได้มากขึ้นในการค้าขาย ซึ่งสารพิษนี้มีการตกค้างในเนื้อหมู มีผลกระทบต่อร่างกายหากบริโภคสะสมสารเคมีตัวนี้จะเข้าไปทำร้ายร่างกาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยจะมีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศรีษะ หัวใจเต้นเร็ว เป็นตะคริว อาเจียน คลื่นไส้ มีอาการทางประสาท มีผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด

2.สารฟอกขาว เป็นสารเคมีกลุ่มซัลไฟล์ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมซัลไฟด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียมหรือโปแตสเซียมแมตาไบซัลไฟต์สำหรับสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ โซเดียมไดไทโอไนต์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการฟอกแหวน มีผู้ลักลอบนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร สารนี้มีคุณสมบัติในการสลายตัวได้เร็วเมื่อทิ้งไว้จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารกลุ่มซัลไฟต์ มีคนบางจำนวนลักลอบใช้กับอาหาร สารเคมีนี้จัดว่ามีอันตรายสุขภาพมากๆ หากร่ายกายได้รับสารฟอกขาวที่ได้รับมาตรฐาน อย คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมซัลไฟด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียมหรือโปแตสเซียมแมตาไบซัลไฟต์ ร่างกายของคนเราจะเปลี่ยนสารให้อยู่ในรูปของซัลเฟตและขับออกได้ทางปัสสาวะแต่หากร่ายกายคนเราได้รับสารฟอกขาวกลุ่มโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือกลุ่มซัลไฟล์เกินกำหนด สารฟอกขาวดังกล่าวจะไปทำลายวิตามิน B1 ในร่างกาย ส่งผลต่อร่างกายทำให้หายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อุจจาระร่วงร่วมด้วยอาการอาเจียน ในบางรายมีอาหารแพ้อาจเกิดลมพิษร่วมด้วย อาจถึงขั้นทำให้ช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้ยิ่งกับผูป่วยที่เป็นโรคหอบหืด

3.สารฟอร์มาลินหรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ โดยปกติใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพ ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ส่วนใหญ่มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ เพื่อรักษาผ้าไม่ให้ย่น ใช้สำหรับการป้องกันเชื้อรา เเละป้องกันศัตรูพืชได้ แต่มีคนบางกลุ่มนำสารฟอร์มาลินหรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์กับอาหาร เพื่อช่วยคงความสดไม่เน่าเสียได้ง่าย เช่น อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ผักสดชนิดต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารและหากได้รับสะสมอยู่ในร่างกายจำนวนมากจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ อาจถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว

4.สารกันราหรือกรดซาลิชิลิค สารประเภทนี้จัดว่าอันตรายมาก โดยได้มีการกำหนดให้ห้ามนำเอามาเจือปนในอาหารเด็ดขาด แต่ยังพบว่ามีผุ้ประกอบการบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้งพริกแกง เพื่อป้องกันเชื้อรา น้ำดองผัก ผลไม้ ให้ใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ สารประเภทนี้หากร่างกายได้รับเข้าไปแล้วจะทำลายเซลล์ของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนเเอลง เมื่อได้รับสะสมในร้างกายเป็นจำนวนมากจะทำให้ทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะและลำไส้ มีการสะสมในเลือดถึง 25-35 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร จะมีอาการ อาเจียน หูอื้อ มีไข้ และความดันโลหิตต่ำจนเกิดอาการช็อคได้ จนสามารถทำให้ถึงแก่การเสียชีวิตได้

5.ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นำมาใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในภาคการเกษตร หลักการใช้คือต้องทิ้งระยะให้สารหมดความเป็นพิษก่อนการเก็บเกี่ยว หากร่างกายคนเราได้รับสารจะเข้าไปทำให้รบกวนระบบประสาททั้งในคนและสัตว์ ส่งผลเสียร่างกายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกาย ปริมาณสารพิษสะสม ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ มึนงง หายใจลำบาก แน่นในอกคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน กล้ามเนื้อลิ้นหละ หนังตากระตุก ชัก หมดสติ

6.สารบอแรกซ์ เป็นสารเคมีที่เป็นเกลือของสารประกอบโบรอน หรือ โซเดียมบอเรต ไม่มีกลิ่น ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี สามารถละลายในแอลกอฮอล์ 95 % เป็นสารเคมีอันตรายที่ห้ามนำมาใช้ในอาหารทุกชนิด แต่สารบอแรกซ์มีลักษณะทำให้เกิดลักษณะหยุ่น กรอบ และเป็นวัตถุกันเสียได้ จึงทำให้ผู้ประกอบมักนำสารบอแรกซ์นำมาผสมลงในอาหารหลากหลายชนิดอย่างเช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก ปลาบด หมูบด และอาหารพวกผลไม้ดอง สำหรับผลเสียต่อร่างกายนั้นเมื่อบริโภคสะสมลงไปในร่างกายทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เกิดการระคายเคือง อุจจาระร่วง เป็นพิษต่อตับ ไต และกระทบถึง สมองเลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับปริมาณสารที่ได้รับนั้นเอง

วิธีสร้างความปลอดภัยสำหรับการเลือกซื้ออาหารต่างๆ

  • เลือกซื้ออาหารที่ผลิตจากโรงงานที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ
  • เช็คตรวจฉลากของอาหาร ให้ละเอียด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องหมาย อย. , ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต , วันเดือนที่ที่ผลิตและหมดอายุ , คำแนะนำในการเก็บรักษาอาหาร , คำเตือน สำรวจความถูกต้องเพื่อจะได้มั่นใจว่าเราซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแล้ว
  • บรรจุภัณฑ์ของอาหารจะต้องอยู่ในสภาพดี ไม่มีการชำรุดใดๆ
  • ผัก ผลไม้ ที่ได้รับประกันการปลอดสารเคมี สำหรับผักผลไม้หลังจากที่ซื้อมาจากตลาดให้ล้างให้สะอาดด้วยน้ำส้มสายชู สารละลายด่าง ก่อนนำมาบริโภคทุกครั้งเพื่อขจัดสารพิษให้ลดน้อยลง
  • ดูอาหารที่สีสันไม่จัดจ้าน เป็นธรรมชาติในแบบของอาหารปกติ เนื้อหมูเนื้อควรมีสีอมชมพูไม่แดงกร้านจนเกินไป
  • สินค้าควรมีเครื่องหมายจากองค์กรที่เชื่อถือได้
  • เลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ไร่ผักใกล้เคียง หรือ ฟาร์มเนื้อสัตว์ในชุมชน หากสะดวกอยู่ในพื้นที่จะทำให้มีความปลอดภัย มั่นใจมากกว่า
  • ไม่ซื้ออาหารที่โฆษณาเกินความเป็นจริง ได้ผลดีเกินไป เพราะนอกจากคุณประโยชน์จากธรรมชาติมักมีสารเคมีเพื่อทำให้อาหารนั้น คุณภาพดีกว่าที่ควรจะเป็นเสมอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีสันจัดจ้านเกินความเป็นจริง หรือหากมีฉลากระบุต้องเช็คดูว่าใช้สีผสมอาหารหรือสารเคมีชนิดใด
  • การเลือกซื้ออาหารพวก หน่อไม้ดอง ขิงหั่นฝอย ถั่วงอก อาหารเหล่านี้มักมีการปนเปื้อนของสารฟอกขาว จะต้องระวังเป็นพิเศษ หากเป็นไปได้เลือกที่มียี่ห้อ มีเครื่องหมาย อย จะปลอดภัยกว่า
  • ผลไม้แห้งสามารถเก็บรักษาได้นานสิ่งที่ควรระวังคือสีสันของตัวผลไม้แห้งจะต้องมีสีสันที่เป็นปกติ ไม่มีสีจัดจ้าน ไม่มีสีดำคล้ำเกินไป ไม่มีสีฝ้าขาวๆมาเกาะติด บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][:]