[:en]อุตสาหกรรมอาหาร[:]

[:en]เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับอุตสาหกรรมอาหาร[:]

[:en][vc_row][vc_column][vc_column_text text_larger=”no”]ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกอีกชื่อว่า เทคโนโลยี AI การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีให้มีความคิดสามารถวิเคราะห์ได้ พัฒนาเพื่อสร้างความฉลาดให้เทียบเท่าสิ่งมีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นวิทยาการ คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก สาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนความคิด การกระทำ การใช้เหตุผล การปรับตัว ดั้งเดิมนั้นเป็นสาขาเรียนหลักในวิทยากรด้านคอมพิวเตอร์หลายๆ แนวคิดในศาตร์นี้ได้จากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น การเรียนรู้ของเครื่องนั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการอุปนัยของ จอห์น สจวร์ต มิลล์ นักปรัชญาชื่อดังชาวอังกฤษ , เครือข่ายประสาทเทียม นำเอาแนวคิดการทำงานของสมองมนุษย์ มาใช้แก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์การถดถอยหรือการปรับเส้นโค้ง

ในอดีตแนวคิดเรื่องของเครื่องจักรคิดได้นั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราญ เช่น หุ่นยนต์ทาลอสแห่งครีต หุ่นยนต์ทองเเดงแห่งเทพฮีฟีสตัส อารยธรรมหลักในสมัยนั้น ต่อมาในศตวรรษที่ 19 และ 20 สิ่งมีชีวิตเทียมเริ่มปรากฏอย่างแพร่หลาย เช่น แฟรงเกนสไตล์ของแมรี เชลลีย์ หรือ R.U.R ของกาเรล ชาเปก แนวคิดเหล่าผ่านการอภิปรายอย่างแพร่หลายในแง่ของ ความหวัง ความกลัว ความกังวลเกี่ยวกับจรรยาบรร ด้านมนุษยธรรม ศีลธรรม ของการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์ ใช้หลักการณ์ของกลไกหรือการใช้เหตุผลอย่างมีแบบแผน เหล่านี้ถูกพัฒนาโดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาตร์ตั้งแต่สมัยโบราญ การศึกษาด้านตรรกศาตร์นำไปสู่การคิดค้นเครื่องคำนวณทางอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลของโปรแกรมโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาตร์ของแอลิน ทัวริงและคนอื่นๆ ทฤษฏีการคำนวณของทัวริงชี้ว่า เครื่องจักรที่รู้จักการสลับตัวเลขระหว่าง 0 กับ 1 สามารถเข้าใจนิรนัยทางคณิตศาตร์ หลังจากนั้นมีการค้นพบ ทางด้านประสาทวิทยา ทฤษฏีสารสนเทศ และ ไซเบอร์เนติกส์ รวมทั้งทฤษฏีการคำนวณของทัวริง เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างสมองอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาอย่างจริงจัง ในเวลาต่อมาการพัฒนาด้านนี้ก็เริ่มต้นและค่อยๆพัฒนา หลายสิบปีต่อมามีการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ที่น่าทึ่งขึ้นในสมัยนั้น อย่างคอมพิวเตอร์ที่สามารถเอาชนะคนเล่นหมากรุกการแก้ไขปัญหาด้วยพีชคณิต ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ประสบความสำเร็จในเชิงพานิชย์เป็นครั้งแรก เค้าเรียกมันว่าระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบคอมพิวเตอร์เพื่อหาคำตอบอธิบายความไม่ชัดเจน ซึ่งโดยปกติจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นมาตอบ ในตอนนั้นช่วงเวลานี้ทำให้การหันมาสนใจในการพัฒนางานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากซบเซาไปนานในทศวรรษ 1990 ปัญญาประดิษฐ์ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยการสนับสนุนจากหลายๆด้าน และสามารถนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในด้านของการขนส่ง การทำเหมืองข้อมูล การวินิจฉัยทางการแพทย์ และในอีกหลายสาขาเกี่ยวกับอุตสาหกรรม

เทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ กับการนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร ในปัจจุบันเราจะพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมหลายเเห่งนำเทคโนโลยี AI เข้ามาปรับใช้เพื่อคุณภาพของอาหารและลดเวลาของการผลิตลง
เทคโนโลยีนั้นมีความแม่นยำ และมีข้อผิดพลาดน้อย ทำให้คุณภาพของโรงงานนั้นดีตามไปด้วย โดยบางผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการคัดเลือกและเรียงลำดับวัตถุดิบการเกษตร อย่างเช่นการใช้เซ็นเซอร์เพื่อช่วยในการคัดเลือกขนาดของวัตถุดิบ หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ตัวนี้นั้น อาศัยหลักการส่งและรับแสงมาเป็นเครื่องมือสำคัญ ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ อย่างกล้องถ่ายภาพหรือเซ็นเซอร์อินฟาเรดระยะใกล้จะได้ภาพที่เหมือนกับที่ผู้บริโภคมองเห็นและมีส่วนการยอมรับเกิดขึ้น ทำให้ระยะเวลาในการคัดเลือกสินค้านั้นสั้นลง บางอุตสาหกรรมนำ AI มาเพื่อปรับปรุงสุขอนามัยสำหรับกลุ่มของคนงานของโรงงาน ร้านอาหาร หลักการณ์ของเทคโนโลยีดังกล่าว จะใช้ซอฟแวร์ตรวจจับวัตถุเพื่อคอยสอดส่องพฤติกรรมการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ในแง่ของการพัฒนาเทคโนโลยี AI ก็เข้ามามีส่วนในการช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมผู้บริโภค ที่ถูกป้อนเข้ามายังในระบบจากนั้นกระบวนการ Data Mining จะประมวลผลและคาดการณ์ เพื่อกำหนด ลักษณะรสชาติที่ผู้บริโภคต้องการ ทำให้สามารถแก้ปัญหาของการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารรสชาติใหม่ที่โดนใจกลุ่มผู้บริโภค

การผลักดันอุตสาหกรรมอาหาร โดย EATLAB ที่มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกด้านอาหารของไทยโดยการนำเทคโนโลยี AI พัฒนาขึ้นเป็นเเพลตฟอร์ม เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค ใช้ข้อมูลและพฤติกกรรมของผู้บริโภค เพื่อรวบรวมคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับสายผลิตอาหาร สามารถนำเข้ามาเพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทำให้เพิ่มความสามารถในการผลิตปละการแข่งขันขึ้น โดย EATLAB เป็น IBM chef Watson สามารถประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจากข้อมูลพฤติกรรมและส่งข้อเสนอแนะไปยังผู้ผลิตอาหาร สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับสำหรับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น พื้นฐานของ EAT LAB พัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถคาดการณ์การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคด้วยความแม่นยำ

ข้อดีของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยี
1.สมองการคิดวิเคราะห์นั้นไม่ใช่เนื้อเยื่อแต่เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ ตราบใดที่คุณเปิดใช้งานมันจะไม่มีวันเหนื่อย สมองของ AIจะประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทเทียมหลายล้านเซลล์ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของมัน นี่คือจุดคำนวณต่างๆโดยใช้อัลกอลิทึมที่ตั้งโปรแกรมเอาไว้ สมองอัลกอลิธึมนี้จะดำเนินการได้แม้กระทั่งอัลกอลิธึมที่ซับซ้อนโดยไม่หยุดทำงานจนกว่าจะคุณจะหยุดการทำงานของมัน
2.สามารถทำงานได้แบบเดิมซ้ำๆ โดยไม่บ่น ไม่เบื่อ ไม่มีคำว่าเหน็ดเหนื่อย
3.เป็นที่รู้ดีกันอย่างชัดเจนถึงประสิทธิภาพของ AI ว่ามันจะมีข้อผิดพลาดน้อยมาก หากคุณไม่ได้ป้อนข้อมูลผิด
4.สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาที่เราต้องการให้มันทำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
5.เป็นการวิเคราะห์เพื่อประมวลคำตอบที่ถูกต้อง สามารถคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้น แนวโน้มของเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง
6.สามารถประมวลผลได้อย่างเเม่นยำ แม้ว่าข้อมูลนั้นจะมีขนาดใหญ่ หรือ จำนวนมากมายมหาศาลขนาดไหน

ข้อเสียของเทคโนโลยี AI
1.ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน สามารถเพียงวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ตามที่ถูกป้องข้อมูลเข้าไปเท่านั้น
2.ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจใด เป็นเพียงขุมประมวลข้อมูลเท่านั้น
3.ราคาของอุปกรณ์จากเทคโนโลยีนี้ ยังคงไมีราคาเเพงในตอนเเรก[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][:]