[:en]การใช้แอร์ให้ประหยัดไฟ[:]

[:en]เคล็ดลับการใช้เครื่องปรับอากาศ ให้ประหยัดไฟขึ้น[:]

[:en][vc_row][vc_column][vc_column_text text_larger=”no”]ที่มาของเครื่องปรับอากาศนั้นเกิดขึ้นในปี คศ.1902 โดยนาย Willis Haviland Carrier วิศวกรเครื่องกลเขาได้คิดค้นเครื่องปรับอากาศโดยในตอนนั้นเขาได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหาเครื่องพิมพ์ภาพสีของโรงพิมพ์ ที่ไม่สามารถพิมพ์ภาพสีออกมาตามสีที่ต้องการได้เนื่องจากโรงพิมพ์มีความชื้นสูง Carrier จึงคิดค้น เครื่องปรับอากาศ หรือ Air conditioning เพื่อนำมาลดความชื้นในอากาศที่ต้องใช้กับเครื่องพิมพ์ เพื่อให้เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์สีได้ตามที่ต้องการ โดย Air conditioning ทำงานปรับอากาศ 4 แบบ 1. สามารถควบคุมความชื้น 2.สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ 3.สามารถควบคุมการไหลเวียนของอากาศได้ 4.สามารถควบคุมความสะอาดของอากาศได้ ต่อมาสิ่งประดิษฐ์นี้ได้รับการจดสิทธิบัตรในปี คศ.1906 โดยใช้ชื่อเรียกว่า “Apparatus for Treating Air” กลายเป็นแนวทางสำหรับเครื่องปรับอากาศ
ต่อมา Carrier ก้คิดค้นทฤษฏีต่อยอดเกี่ยวกับการปรับอากาศความชื้นให้วิศวกรได้ศึกษาเล่าเรียน พร้อมกับก่อตั้งบริษัทเป็นของตัวเองและผลิตเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ Carrier สำหรับติดตั้งในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย,สำนักงาน,มียอดจำหน่ายสูงในอเมริกาและส่งออกทั่วโลก

ประเภทของเครื่องปรับอากาศ

1.แอร์ติดผนัง Wall Type มีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกะทัดรัด รูปแบบที่ทันสมัย ประหยัดพลังงานและราคาไม่แพง เป็นที่นิยมติดตามภายในที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
2.แอร์แขวนใต้ฝ้า – วางตั้งพื้น เหมาะกับห้องขนาดกลางถึงห้องขนาดเล็กที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น อย่างสำนักงาน ห้องโถงในอาคาร ห้องประชุมขนาดกลางต่างๆ มักจะติดตั้งใต้ฝ้าเพดาน หรือ บางรูปแบบอาจติดตั้งวางบนพื้นได้ กระจายลมได้ดี เครื่องทำงานหนักมีเสียงดังกว่าแบบติดผนัง
3.แอร์ฝังในฝ้า แอร์ 4 ทิศทางติดตั้งภายใต้ฝ้าเพดาน สามารถรักษาความสวยงามของห้องไว้ได้นิยมติดตั้งตามห้างสรรพสินค้าหรือห้องพักตามโรงแรม ตัวแอร์จะกลมกลืนไปกับฝ้าเพดานทำให้ห้องดูโล่ง ไม่เกะกะ ลดและประหยัดพื้นที่ ราคานั้นจะเเพงกว่าแบบอื่นๆ และมีขั้นตอนการบำรุงรักษาที่ซับซ้อนกว่าแอร์ชนิดอื่นๆ
4.แอร์ตู้ตั้งพื้น เครื่องแอร์แบบตู้ตั้ง ติดตั้งบนพื้น มีประสิทธิภาพในการกระจายลมเย็นสูง ทนทานต่อฝุ่นควัน เหมาะกับการใช้งานที่หนักในพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น อย่างในโรงงานหรือห้องโถงขนาดใหญ่ ติดตั้งง่าย สามารถทำความเย็นได้อย่างรวดเร็ว แต่การทำงานใช้เสียงดัง และเปลืองไฟกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่น
5.แอร์หน้าต่าง แอร์ลักษณะนี้จะรวม ยูนิต, คอนเดนชิ่ง และแฟนคอยล์ ติดตั้งด้วยการฝังเข้าไปในห้องไม่จำเป็นต้องเดินท่อน้ำยาแต่จะต้องอยู่ใกล้ช่องหน้าต่าง ตัวแอร์ค่อนข้างเสียงดัง
6.แอร์ชนิดเคลื่อนที่ ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะสะดวกในการติดตั้ง สามารถเคลื่อนที่ได้ รูปทรงคล้ายแอร์ตู้มีขนาดเล็กกว่ามากมีล้อสามารถเคลื่อนที่ได้ การต่อท่อสายน้ำทิ้งออกไปข้างนอกบ้านด้วยตัวเอง ตรงจุดนี้ต้องเจาะผนังหรือทำรูเพื่อต่อท่อโดยเฉพาะ

เคล็ดลับ วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศ

1.ในแต่ละวันเราอาจออกไปทำงานข้างนอก กลับมาห้องพักที่อยู่อาศัยในตอนเย็น ระหว่างวันห้องพักของเราก้จะมีความร้อนสะสมขังอยู่ในห้อง เมื่อเรากลับมายังที่พักให้เปิดหน้าต่าง เพื่อให้ความร้อนระบายออกไปด้านนอกให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ ไล่อากาศร้อนออกจากห้อง แถมยังช่วยระบายกลิ่นอับต่างๆให้เจือจางลงด้วย แล้วจึงค่อยเปิดแอร์ แอร์จะได้ไม่ทำงานหนักจนเกินไป หรือ เราอาจเลือกใช้ผ้าม่านกันความร้อน ที่สามารถกันความร้อนไม่ให้ความร้อนเข้ามากักเก็บภายในห้องได้ ก็ช่วยเรื่องการดูแลอุณหภูมิภายในห้องได้เช่นกัน
2.ควรปิดแอร์ก่อนออกจากห้อง หรือ ก่อนเลิกใช้ ประมาณ 30 นาที จะช่วยประหยัดไฟขึ้นได้อีกครึ่งชั่วโมงที่คอมเพรสเซอร์ของแอร์ไม่ต้องทำงานแล้วแต่อากาศภายในห้องยังคงความเย็นอยู่เหมือนเดิมด้วยอากาศที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากการเปิดแอร์
3.การตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ ควรตั้งไว้ที่ 26-27 องศาเซลเซียสให้เพียงพอ หากรู้สึกไม่ค่อยเย็นให้เปิดพัดลมตัวเล็กๆเพื่อช่วยเรื่องความเย็นอีกหน่อย จะทำให้ประหยัดไฟไปได้ถึง 10-30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
4.สิ่งที่สำคัญสำหรับการใช้แอร์แล้ว จะขาดไม่ได้เลยนั้นคือการเลือกขนาด BTU ของแอร์ให้พอดีกับพื้นที่ภายในห้อง สำหรับค่า BTU นั้นคือหน่วยวัดปริมาณความร้อน โดยในเครื่องปรับอากาศจะใช้หน่วยวัดพลังงานเป็น BTU/hr. การเลือกขนาด BTU นั้นควรเลือกตามขนาดของห้อง สามารถคำนวณสูตรได้ดังนี้
พื้นที่ห้อง x ค่า Cooling Lode Estimation = ค่า BTU ที่เหมาะสม
โดยปกติแล้วคาที่เหมาะสมจะมีดังนี้
ห้องนอน 700-750 BTU/ตารางเมตร
ห้องนั่งเล่น 750-850 BTU/ตารางเมตร
ห้องทานอาหาร 800-950 BTU/ตารางเมตร
ห้องครัว 900-1000 BTU/ตารางเมตร
ห้องทำงาน 800-900 BTU/ตารางเมตร
ห้องประชุม 850-1000 BTU/ตารางเมตร
5.ตรวจสอบให้มั่นใจว่าในขณะที่เปิดแอร์นั้นเราได้ปิดประตูหน้าต่างห้องสนิทแล้ว ไม่มีช่องว่างที่อากาศเล็ดลอดออกได้ นอกจากนั้นแล้วเรายังคงต้องระวังในเรื่องของความชื้น โดยปกติแล้วแอร์จะใช้พลังงาน 30 % ในการทำความเย็น และใช้พลังงานอีก 70 % เพื่อกำจัดความชื้นภายในห้อง อย่างนั้นแล้วสิ่งที่ควรระวังนอกจากการปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดแล้ว ยังต้องระวังในเรื่องของความเปียกชื้นต่างๆเช่น การตากผ้า การปลูกต้นไม้ที่มีการคายน้ำมากๆ หรือการรดน้ำต้นไม้ในห้องก็เช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้แอร์ทำงานหนัก
6.หลีกเลี่ยงการเปิด ปิดแอร์บ่อยๆ การเปิดปิดแอร์บ่อยๆจะทำให้แอร์เกิดการทำงานหนัก ส่งผลให้ต้องใช้ไฟฟ้ามาก เปลืองไฟมากกว่าการเปิดแอร์แช่ไว้เป็นเวลานานๆและปิดน้อยครั้ง การเปิดปิดแอร์บ่อยๆยังส่งผลให้ลดอายุการใช้งานของแอร์อีกด้วย
7.การล้างเครื่องปรับอากาศทุก 6 เดือน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพราะจะช่วยยืดอายุการใช้แอร์ของเราได้ การใช้แอร์ไปนานๆจะมีการเกิดสะสมของฝุ่นต่างๆ ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น กินไฟมากขึ้น การล้างแอร์นอกจากจะช่วยเรื่องประหยัดไฟแล้ว ยังช่วยเรื่องของสุขภาพอีกด้วย เพราะได้ล้างทำความสะอาดนำเอาแหล่งสะสมของฝุ่นและเชื้อโรคออกไปจากตัวแอร์

แอร์ในปัจจุบันถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีระบบอินเวอร์เตอร์ การทำงานของระบบปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ จะกล่าวคือ เครื่องปรับอากาศเป็นหัวใจในการทำงานอย่างอุปกรณ์ที่ชื่อว่า คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่เคยสูบฉีดน้ำยาไปหล่อเลี้ยงทั้งระบบทำความเย็น คอมเพรสเซอร์จะทำงานตัดต่อเป็นจังหวะตามช่องอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ในการทำงานของคอมเพรสเซอร์แต่ละครั้งจะใช้พลังงานที่สูงกว่าช่วงการทำงานอื่น เกิดการสิ้นเปลืองค่าไฟขึ้นในตรงจุดนี้ แต่เมื่อเป็นระบบทำงานแบบอินเวอร์เตอร์คอมเพลสเซอร์จะทำงานอย่างต่อเนื่อง ปรับความเร็วตามสภาพการทำงานจึงไม่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากนัก ทำให้ประหยัดไฟขึ้น[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row css=”.vc_custom_1624695763821{border-top-width: 2px !important;border-top-color: #1e73be !important;border-top-style: solid !important;border-radius: 2px !important;}” mobile_bg_img_hidden=”no” tablet_bg_img_hidden=”no” woodmart_parallax=”0″ woodmart_gradient_switch=”no” row_reverse_mobile=”0″ row_reverse_tablet=”0″ woodmart_disable_overflow=”0″][vc_column width=”1/6″][vc_single_image image=”17424″ img_size=”full” parallax_scroll=”no”][/vc_column][vc_column width=”1/6″][/vc_column][vc_column width=”1/6″][/vc_column][vc_column width=”1/6″][vc_single_image image=”17424″ img_size=”full” parallax_scroll=”no”][/vc_column][vc_column width=”1/6″][/vc_column][vc_column width=”1/6″][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column width=”1/2″][vc_column_text text_larger=”no”]สารทำความเย็น R410 สารทำความเย็น R22 ได้มีการเพื่อปรับอากาศในระบบทำความเย็นมาอย่ายาวนาน กว่า 5 ทศวรรษ ที่นิยมใช้กันอย่างเเพร่หลาย ต่อมาได้มีการค้นพบข้อบกพร่องของสารทำความเย็น ตัวนี้ โดยสารทำความเย็น R22 นั้นมีส่วนทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกนั้นสูงขึ้นในทุกๆปี จนกระทั่งถึงจุดที่วิกฤติ จึงได้มีกากรพัฒนาสารความเย็นชนิดอื่นที่ไม่เป็นการทำลายโลกร้อน คือ สารทำความเย็น R410-A ซึ่งไม่มีส่วนประกอบที่ก่อมลพิษต่อโลก และมีการยกเลิกใช้สารทำความเย็น R22 สิ้นสุดที่ศตวรรษที่ 21 เนื่องจากไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม[/vc_column_text][/vc_column][vc_column width=”1/2″][vc_column_text text_larger=”no”]การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ เป็นที่รู้ดีกันอยู่แล้วกับฉลากประหยัดไฟเบอร์5 เพราะได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ได้มาตรฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานได้กำหนดเอาไว้ สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นตัวการันตีในผลิตภัณฑ์สำหรับการประหยัดไฟอย่างจริงแท้[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][:]